วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562

สัตว์ป่าสงวน 19 ชนิด

สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา
สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชกลำที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวกโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย  ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสงวนคุ้มครองสัตว์ป่ามีมติเห็นชอบให้เพิ่มสัตว์ 4 ชนิด เป็นสัตว์สงวน รวมสัตว์ป่าสงวนมีทั้งสิ้น 19 ชนิด ได้แก่

1. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)


ภาพที่ 1 นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)      
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง(อังกฤษ:White-eyed River-Martin  , ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae)
          นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง(อังกฤษ: White-eyed River-Martin  ,                              ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae)
       เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลกแต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535                       
         นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีสีดำออก     เขียวเหลือบ ตะโพกขาว หางมีขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวแผ่ตรงปลาย วงรอบตาสีขาวหนา ปากสีเหลืองสดออกเขียว ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน  แต่นกวัยอ่อนไม่ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมา     สีขนออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย  พฤติกรรมเป็นที่ทราบน้อยมากรวมถึงแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ไก่


2. แรดชวา (Rhinoceros sondaicus)
ภาพที่ 2 แรดชวา (Rhinoceros sondaicus)
แรดชวา หรือ ระมาด หรือแรดซุนดา (อังกฤษ: Javan Rhinoceros) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคี่ในวงศ์แรด อยู่ในสกุลเดียวกันกับแรดอินเดีย เป็นหนึ่งในห้าชนิดของแรดที่
ยังเหลืออยู่ ลำตัวยาว 3.1–3.2 เมตร สูง 1.4–1.7 เมตร มีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ เหนือจมูกมีนอสั้น ๆ
หนึ่งนอมีขนาดเล็กกว่าแรดทุกชนิด จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว แรดชวาเป็นแรดเอเชียที่มีการกระจายพันธุ์
กว้างที่สุดตั้งแต่เกาะในอินโดนีเซีย ตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และจีน ปัจจุบันแรดชวาถูกคุกคาม
จนอยู่ในขั้นวิกฤติ มีเพียงสองแห่งเท่านั้น ที่ยังมีประชากรหลงเหลืออยู่ในป่าไม่มีแรดชวาจัดแสดงใน สวนสัตว์
แรดชวาอาจเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบได้ยากที่สุดในโลก

3. กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
ภาพที่ 3 กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
กระซู่ , แรดสุมาตรา หรือ แรดขน (อังกฤษ: Sumatran Rhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicerorhinus sumatrensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรดกระซู่
เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้น
มาเหมือนแรดชวา นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 เซนติเมตร ลำตัวมีขนหยาบและยาวปกคลุม
เมื่อโตเต็มที่สูง 120–145 เซนติเมตร จรดหัวไหล่ ยาว 250 เซนติเมตร และ มีน้ำหนัก 500-800 กิโลกรัม
กระซู่อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น ป่าพรุ และ ป่าเมฆในประเทศ อินเดีย ภูฏาน บังกลาเทศ พม่า ลาว  ไทย

4. กูปรี (Bos sauveli)
ภาพที่ 4 กูปรี (Bos sauveli)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos sauveli เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน ตัวผู้ มีขนสีดำขนาดความสูง 1.71 - 1.90 เมตร ขนาดลำตัว 2.10 - 2.22  เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 700 - 900 กิโลกรัม เขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ขาทั้ง 4 มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับกระทิง (B. gaurus) ตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมา เชื่อว่าใช้ในการระบายความร้อนตัวเมีย มีขนสีเทา มีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา มีเขากลวงแบบ Horns ขนาดเท่ากัน โคนเขาใหญ่ ปลายเขาแหลม ไม่มีการแตกกิ่ง ยาวประมาณ 1 เมตร

5. ควายป่า (Bubalus bubalis)
ภาพที่ 5 ควายป่า (Bubalus bubalis)
ควายป่า (อังกฤษ: Wild water buffalo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Bubalus arnee มีลักษณะคล้ายควายบ้าน ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า 
มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือ
สีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่
กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายเขาเรียว

6. ละอง หรือละมั่ง (Rucervus eldi)
ภาพที่ 6 ละอง หรือละมั่ง (Rucervus eldi)
ละองหรือละมั่ง(อังกฤษ: Eld's deer, Thamin, Brow-antlered deer;
ชื่อวิทยาศาสตร์: Panolia eldii) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นกวางขนาดกลาง
ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดงแต่  สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ขนหยาบและยาว ในฤดูหนาวขนจะยาวมาก
แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วงฤดูร้อน ในตัวผู้จะเรียกว่า "ละอง" ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า "ละมั่ง"
แต่จะนิยมเรียกคู่กัน สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมรคำว่า "ลำเมียง" (រេបីស)ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัย
จะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตา
และริมฝีปากล่างมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 150-170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220-250 เซนติเมตร
น้ำหนัก 95-150 กิโลกรัม

7. สมัน หรือเนื้อสมัน (Rucervus schomburki)
ภาพที่ 7 สมัน หรือเนื้อสมัน (Rucervus schomburki)
สมัน หรือ ฉมัน หรือ เนื้อสมัน หรือ กวางเขาสุ่ม (อังกฤษ: Schomburgk's deer) เป็นสัตว์เลี้ยง
ลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rucervus schomburgki เป็นกวางขนาดกลาง
ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้มท้องมีสีอ่อนกว่า ริมฝีปากล่างและด้านล่างของหางเป็นสีขาว มีลักษณะเด่นคือ
ตัวผู้จะมีเขาแตกแขนงออกไปมากมาย เหมือนกิ่งไม้ แลดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลก
สมันมีความยาวลำตัว 180 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่
100-110 เซนติเมตร

8. เลียงผา (Capricornis sumatraensis)
ภาพที่ 8 เลียงผา (Capricornis sumatraensis)
เลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ (อังกฤษ: Serow; อีสาน: เยือง) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่สกุลหนึ่งใน
วงศ์ Bovidae วงศ์ย่อย Caprinae คือวงศ์เดียวกับแพะและแกะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis เลียงผา
มีลักษณะคล้ายกับกวางผา ซึ่งเดิมก็เคยถูกจัดให้อยู่สกุลเดียวกันมาแต่เลียงผามีขนาดใหญ่กว่า มีลักษณะ
คล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขอยาว ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย
เขางอกยาวต่อเนื่องทุกปี ลักษณะของกะโหลกเมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามี
กะโหลกแบน ขนตามลำตัวจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุ, สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและชนิดพันธุ์ มีขนหยาบ
และไม่เป็น 2 ชั้นเหมือนกวางผา ใต้ตามีต่อมน้ำมันใช้สำหรับถูตามต้นไม้หรือโขดหินเพื่อประกาศอาณาเขต
โดยมักอยู่ตามหน้าผาหรือภูเขาสูง หรือตามเกาะต่าง ๆ กลางทะเล มีความสามารถในการปีนป่ายที่สูงชัน
ได้อย่างคล่องแคล่ว โดยสามารถทำความเร็วในการขึ้นที่สูงได้ถึง 1,000 เมตร

9. กวางผาจีน (Naemorhedus griseus)
ภาพที่ 9 กวางผาจีน (Naemorhedus griseus)
กวางผาจีน หรือ กวางผาจีนถิ่นใต้ (อังกฤษ: Chinese goral, South China goral) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Naemorhaedus griseus อยู่ในวงศ์ Bovidae มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแพะ มีหูยาว ขนตามลำตัวหยาบและหนามีสีเทาหรือน้ำตาลเทา มีแถบสีดำพาดอยู่กลางหลัง  ตัวเมียจะมีสีขนอ่อนกว่าตัวผู้ บริเวณลำคอด้านในมีขนสีอ่อน ริมฝีปากและรอบ ๆ ตาสีขาว เขาสั้นมีสีดำ ตัวผู้จะมีเขาที่หนาและยาวกว่าตัวเมีย มีความยาวลำตัวและหัว 82-120 เซนติเมตร ความยาวหาง 7.5-20 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 50-60 เซนติเมตร น้ำหนัก 22-32 กิโลกรัม ผสมพันธุ์ในเดือนตุลาคม-ธันวาคมใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว เป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย

10. นกแต้วแร้วท้องดำ (Pitta gurneyi)
ภาพที่ 10 นกแต้วแร้วท้องดำ (Pitta gurneyi)
นกแต้วแร้วท้องดำ หรือ นกแต้วแล้วท้องดำ (อังกฤษ: Gurney's Pitta,ชื่อวิทยาศาสตร์:Pitta gurneyi)
พบในพม่าและไทย ปัจจุบันพบได้ที่ เขานอจู้จี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม นกแต้วแร้วท้องดำเป็น
หนึ่งในนกแต้วแร้ว 12 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย รูปร่าง อ้วนป้อม คอสั้น หัวโต หางสั้น ลำตัวยาว 22
เซนติเมตร ตัวผู้หัวมีสีดำ กระหม่อมและท้ายทอยสีน้ำเงินเหลือบฟ้า หางสีน้ำเงินอมเขียว ท้องสีเหลืองสด
มีริ้วสีดำบาง ๆ พาดสลับตลอดช่วงท้อง ใต้ท้องมีแต้มสีดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ตัวเมียกระหม่อมสี เหลืองอ่อน
มีแถบดำผ่านใต้ตาลงไปถึงแก้ม ท้องสีขาว มีแถบสีน้ำตาลขวางจากอกลงไปถึงก้น  


11. นกกระเรียนไทย (Grus antigone)
ภาพที่ 11 นกกระเรียนไทย (Grus antigone)
นกกระเรียน (อังกฤษ: Sarus crane) เป็นนกขนาดใหญ่ พบในบางพื้นที่ของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศออสเตรเลีย เป็นนกบินได้ที่สูงที่สุดในโลก เมื่อยืนจะสูงถึง 1.8 เมตร สังเกตเห็นได้ง่าย ในพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง นกกระเรียนไทยแตกต่างจากนกกระเรียนอื่นในพื้นที่เพราะมีสีเทาทั้งตัวและมีสีแดงที่หัวและบริเวณคอด้านบน หากินในที่ลุ่มมีน้ำขังบริเวณน้ำตื้น กินราก หัว แมลง สัตว์น้ำ และ สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร นกกระเรียนมักมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต 

12. แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
ภาพที่ 12 แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata)
แมวลายหินอ่อน (อังกฤษ: Marbled cat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pardofelis marmorata)  เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์เสือ (Felidae) ที่มีขนาดเท่ากับแมวบ้าน (Felis catus) แต่มีหางยาวกว่าและมีขนที่หางมากกว่า หัวมีขนาดเล็ก กลมมน สีขนมีลวดลายเป็นแถบหรือเป็นดวงคล้ายลวดลายของเสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) หรือลวดลายบนหินอ่อน

13. สมเสร็จมลายู (Tapirus indicus)
ภาพที่ 13 สมเสร็จมลายู (Tapirus indicus)
สมเสร็จมลายู หรือ สมเสร็จเอเชีย (อังกฤษ: Malayan tapir, Asian tapir) บ้างเรียก ผสมเสร็จสมเสร็จมลายูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่ นับเป็นสมเสร็จชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นชนิดเดียวที่พบในทวีปเอเชีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tapirus indicus เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด คือ มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง รูปร่างหน้าตาคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด ลักษณะเด่น คือ บริเวณส่วนหัวไหล่และขาทั้งสี่ข้างมีสีดำ  ส่วนกลางลำตัวเป็นสีขาว ใบหูกลม ขนปลายหูและริมฝีปากมีสีขาว มีแผ่นหนังหนาบริเวณ สันก้านคอโคร่ง ที่จะตะปบกัดบริเวณก้านคอ

14. เก้งหม้อ (Muntiacus feai)
ภาพที่ 14 เก้งหม้อ (Muntiacus feai)
เก้งหม้อ หรือ กวางเขาจุก หรือ เก้งดำ หรือ เก้งดง (อังกฤษ: Fea's muntjac, Tenasserim muntjac) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่จำพวกกวาง มีลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา แต่ต่างกันเก้งหม้อจะมีขนบริเวณลำตัวที่เข้มกว่า ใบตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขาทั้ง 4 ข้างมีสีดำ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อสามัญที่เรียก ด้านหน้าด้านหลังมีสีขาวเห็นได้ชัดเจน หางสั้น หางด้านบนมีสีเข้ม แต่ด้านล่างมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาของเก้งหม้อสั้นกว่าเก้งธรรมดา ผลัดเขาปีละ 1 ครั้ง มีความยาวลำตัวและหัว 88 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร น้ำหนัก 22 กิโลกรัมมีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของพม่า, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกและ ภาคใต้ของไทยเป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเหลือเพียงตัวเดียวในโลก ที่สวนสัตว์ดุสิต แต่ปัจจุบัน ยังพอหาได้ตามป่าธรรมชาติและวัดในพรมแดนไทยพม่า ที่พระสงฆ์เลี้ยงอยู่ เก้งหม้ออาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง ในฤดูผสมพันธุ์ จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หน้ามีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณกระหม่อมและโคนขามีสีเหลืองสด ด้านล่างของลำ

15. พะยูน (Dugong dugon)
ภาพที่ 15 พะยูน (Dugong dugon)
เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia) พะยูนมีรูปร่างคล้ายแมวน้ำขนาดใหญ่ที่อ้วนกลมเทอะทะ ครีบมีลักษะคล้ายใบพาย ซึ่งวิวัฒนาการมาจากขาหน้าใช้สำหรับพยุงตัวและขุดหาอาหาร ไม่มีครีบหลัง ไม่มีใบหู ตามีขนาดเล็ก ริมฝีปากมีเส้นขนอยู่โดยรอบ ตัวผู้บางตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฟันคู่หนึ่งงอกออกจากปากคล้ายงาช้าง ใช้สำหรับต่อสู้เพื่อแย่งคู่กับใช้ขุดหาอาหารในตัวเมียมีนมอยู่ 2 เต้าขนาดเท่านิ้วก้อยยาวประมาณ 2 เซนติเมตร


16. วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni)
ภาพที่ 16 วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni)
วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ (อังกฤษ: Bryde's whale, Eden's whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera edeni) เป็นวาฬขนาดใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ชื่อโยฮัน บรูด้า  มีจุดเด่นที่ครีบหลังที่มีรูปโค้งอยู่ค่อนไปทางด้านปลายหาง แพนหางวางตัวตาม แนวราบ และมีรอยเว้าเข้าตรงกึ่งกลาง ครีบคู่หน้ามีปลายแหลม ซี่บนแผ่นกรองค่อนข้างหยาบ และเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ จึงได้รับการคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ห้ามมีการค้าขาย    วาฬบรูด้าระหว่างประเทศ วาฬบรูด้าพบกระจายพันธุ์ในท้องทะเลเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ในอ่าวไทย สามารถพบได้ในจังหวัดชายทะเลเกือบทุกจังหวัด แต่จะพบบ่อยที่ ทะเลบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลักษณะลำตัวมีสีเทาดำ รูปร่างค่อนข้างเพรียว มีลายแต้มสีขาวประปรายตรงใต้คางและใต้คอ บางตัวพบมีแถบสีจางบนแผ่นหลัง บางตัวก็มีจุดสีจางทั้งตัวคล้ายสีเทาลายกระสีขาว

17. วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai)
ภาพที่ 17 วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai)
เป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีความลึกลับ และหายากที่สุดในโลก มีรูปร่างคล้ายกับวาฬบรูด้า ทำให้ผู้คนนั้นสับสนว่ามันเป็นวาฬบรูด้ามาโดยตลอด ที่ผ่านมานั้นยังมีการคาดกันว่ามันสูญพันธุ์ แต่ก็พบว่ามีมาตาย เกยตื้นอยู่บนชายฝั่ง ล่าสุดนั้นพบที่ออสเตรเลียวาฬโอมูระนั้นถือว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ พบเห็นได้ยาก นักชีววิทยาจึงไม่สามารถรู้ได้ว่ามันมีอยู่ในธรรมชาติเท่าไหร่

18. เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)

ภาพที่ 18 เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)

เต่ามะเฟือง หรือ เต่าเหลี่ยม (อังกฤษ: Leatherback turtle) เป็นเต่าทะเล จัดเป็นเต่าชนิดที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวในวงศ์Dermochelyidae และสกุล Dermochelys เต่ามะเฟืองสามารถแยกออกจากเต่าประเภทอื่นได้โดยการสังเกตที่กระดองจะมีขนาดคล้ายผลมะเฟือง และครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ ตั้งแต่ออกจากไข่ ความลึกที่เต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำได้ถึง    1,280 เมตร เต่ามะเฟืองเพศเมียจะขึ้นมาวางบนชายหาด ประมาณ 50-150 ฟอง/รัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่ปัจจัยในการวางไข่ เช่น อายุ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของสถานที่วางไข่ เต่ามะเฟืองจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 60-70 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ของสภาพแวดล้อม หลังจากฟักตัวแล้ว โดยมีประมาณ 85% ที่ฟักตัวได้ ลูกเต่าจะคลานออกจากรัง ลงสู่ทะเลโดยทันที เนื่องจากเป็นเต่ามะเฟืองเป็นเต่าน้ำลึก จึงไม่สามารถเก็บมาอนุบาลได้เป็นเวลานานซึ่งต่างกับเต่าทะเลสายพันธุ์อื่น ในวัยเจริญพันธุ์จะเติบโตและใช้เวลาอยู่ในทะเลเกือบชั่วชีวิต

19. ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)
                                          
ภาพที่ 19 ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)
ปลาฉลามวาฬ (อังกฤษ: Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน ลักษณะของปลาฉลามวาฬที่แตกต่างจากปลาฉลาม ส่วนใหญ่ คือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5ช่อง มีครีบอก 2 อัน  ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของปลาฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้งฉากและโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา

________________________________________________________

   การจัดทำเว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานคอมพิวเตอร์    โดยมีวัตถุประสงค์คือ
-เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อกเรื่อง สัตว์ป่าสงวน
-เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
-เพื่อให้ประโยชน์กับบุคคลที่สนใจจะศึกษาและต้องการอนุรักษ์สัตว์ป่าสงวน

    เราจึงมีการจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้อ่านต่อเว็บไซต์นี้โดยการให้ข้อมูลจากลิงค์ด้านล่างนี้

ขอขอบคุณท่านผู้อ่าน ณ ที่นี่